บทความ

ประวัติหลวงพ่อสันติ

 • ประวัติหลวงพ่อสันติ เดชปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุสันติธรรม หลวงพ่อสันติ เตชปญฺโญ เดิมชื่อ นายสันติ ปุณณประดับกิจ เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ บิดาชื่อ นายยุ่ยพ่วง แซ่อึ้ง และมารดาชื่อ นางทับ อิ่มจิต เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๙ คน นายสันติเกิดและเติบโตที่ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เข้ารับการศึกษาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และประกอบอาชีพเป็นเจ้าของร้านเฟอร์นิเจอร์เรื่อยมา นายสันติได้เข้าอุปสมบทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ พัทธสีมา วัดสันทราย ตำบลบ้านธิ อำเภอ บ้านธิ จังหวัดลำพูน (อายุ ๔๒ ปี) และได้รับฉายาทาง ธรรมว่า "สันติ เตชปญฺโญ โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครู สุรินทโสภณ วัดป่าสัก อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พระ กรรมวาจาจารย์ พระสิงห์คำ ขนติโก วัดห้วยยาบ อำเภอ บ้านธิ จังหวัดลำพูน พระอนุสาวนาจารย์ พระทองพูน สิริจันโท วัดสันพระเจ้าแดง อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงพ่อสันติ เตชปญฺโญ เดินทางไป ศึกษาแนวทางการปฏิบัติกรรมฐาน สติปัฏฐาน ๔ กับพระครู สุกิจจานุรักษ์ หรือ “หลวงปู่ก๋วน อคควาย ณ วัดตะเคียน ทอง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โด

วิธีการลาสิกขา

  ศ า ส น พิ ธี : การลาสิกขา วิธีการลาสิกขา เมื่อถึงกำหนดพระสงฆ์ผู้จะนั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุผู้จะต้องการลาสิกขา แสดงอาบัติหมดจดสิ้นดีแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งกระเหย่ง หันหน้าตรงต่อพระพุทธรูป (ที่ประดิษฐานบนที่บูชา) กราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ หน ประณมมือ เปล่งวาจา นะโม ๓ จบ แล้วกล่าวอตีตปัจจเวกขณ์ทั้ง ๔ ปัจจัย พอให้สงฆ์ได้ยิน (ถ้าผู้สึกหลายรูปให้ว่าพร้อม กันก็ได้) เปล่งวาจาทั้งอรรถทั้งแปล พร้อมด้วยเจตนาที่จะละเพศออกเป็นคฤหัสถ์ คราวละคน ว่า... สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้าลาสิกขา คิหีติ มัง ธาเรถะ ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ถ้าความรู้สึกใจดิ่งเที่ยวลงไปว่าเป็นคฤหัสถ์แน่แล้ว ว่าเพียง ๑ จบ ก็ใช้ได้ แต่ถ้ายังไม่แน่วแน่ พอ จะว่ากี่ครั้งก็ได้ ว่าไปจนตกลงใจ เมื่อว่าไปจนปลงใจแล้วกราบสงฆ์ ๓ หน ออกไปผลัดผ้าขาวโจงกระเบน (ให้เอาผ้าขาวสอด เข้าไปในผ้าเหลือง) ห่มผ้าขาวเฉวียงบ่าแล้วเข้าไปหันหน้าตรงต่อสงฆ์ กราบ ๓ หน ประณม มือเปล่งวาจาถึงพระไตรสรณคมน์พร้อมกัน แสดงตนเป็นอุบาสกว่า เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวะตัง สะระณัง คัจฉามิ. ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, อุปาสะกัง

พิธีกรรม - พิธีการ 2

ทำบุญงานอวมงคล การทำบุญงานอวมงคล หมายถึงการทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตาย มี ๒ อย่าง คือ:- ๑.  งานทำบุญหน้าศพ  ที่เรียกว่า  " ทำบุญ ๗ วัน" . . . ๕๐ วัน . . . ๑๐ วัน หรือ ทำบุญหน้าวันปลงศพ. ๒.  งานทำบุญอัฐิ  ที่ปรารภบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่งที่ล่วงลับ ไปแล้ว เป็นงานประจำปี เช่นวันสงกรานต์ ( เดือน ๕), วันสารท ( เดือน ๑๐) หรือวันคล้ายกับวันตายของผู้นั้น ๆ. ๑  . งานทำบุญหน้าศพ พิธีฝ่ายเจ้าภาพ  ต้องเตรียมการต่าง ๆ ส่วนใหญ่คล้ายกับงาน ทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่าง คือ :- ๑.  อาราธนาพระสงฆ์สวด พระพุทธมนต์  นิยมคู่ คือ ๘ รูป ๑๐ รูป เป็นต้น แล้วแต่กรณี. ใช้คำอาราธนาว่า " ขออาราธนาสวด พระพุทธมนต์ " ( งานมงคลใช้คำว่า " ขออาราธนาเจริญ พระพุทธมนต์") ๒.  ไม่ตั้งภาชนะน้ำพุทธมนต์ ไม่วงสายสิญจน์  คือไม่ต้องทำ น้ำ พระพุทธมนต์ . ๓.  เตรียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้  สายโยง คือด้าย สายสิญจน์นั่นเอง . ภูษาโยงคือแผ่นผ้า กว้างประมาณ ๔ นิ้ว ยาวให้พอ ตั้งแต่พระองคืต้นแถว ถึงองค์ปลายแถว และต้องมีสายโยงจากศพมา เชื่อมกับภูษาโยงอีก , ระวังการเดินสายโยง อย่าให้สู่กว่าพระพุทธรูปใน พิธี และอ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะฌามะ เส ฯ ตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทว

บทสวดมนต์งานมงคล

 บทสวดมนต์งานมงคล ชุมนุมเทวดา สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ (ใช้เฉพาะในราชการ) ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา, อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ,  สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ, จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน, เคหะวัตถุมหิ เขตเต, ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม, ยักขะคันธัพพะนาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง, สาธะโว เม สุณันตุ ฯ  ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา บทสวดปุพพะภาคะนะมะการ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ ( 3 ครั้ง ) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ      บทสวด สัมพุทเธ 1. สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสั

พิธีการ-พิธีกรรม 1

รูปภาพ
พิธีการ-พิธีกรรม                                                 นิทัศน์ พงษ์บุปผา              พิธีกรรม  มีทั้งที่เป็นพิธีการและไม่เป็นพิธีการ   ควรทำอย่างไร ...  เป็นคำถามที่ท่านควรรู้  ผมจึงนำบทความของนาวาเอก สุนทร   สันติธัช  มาฝากท่านทั้งหลาย   เพื่อความมั่นใจในการประกอบพิธีกรรม               พิธีการ   คือ  การกำหนดรายละเอียดของพิธีต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดของพิธีนั้น ๆ จะปรากฏอยู่ ในพิธีกรรมทั่วไป เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา กำหนดการพิธีทำบุญประจำปี วันกองทัพเรือ กำหนดการพิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นต้น             พิธีกรรม คือ  การกระทำพิธีต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งพิธีเล็กพิธีใหญ่ บางพิธีเป็นพิธีการ บางพิธี ไม่เป็นพิธีการ เช่น พิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย พิธีการศพพิธีสักการบูชา ศาลพระภูมิ เป็นต้น ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติปรากฏอยู่ในพิธีกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ พิธีทำบุญทั่วไป             พิธีทำบุญในศาสนาพุทธ มี ๒ พิธี คือ              ๑. พิธีทำบุญงานมงคล  เพื่อเป็นสิริมงคล ความสุข ความเจริญ เช่น ทำบุญขึ้นบ้าน ใหม่ ,  งานวันเกิด ,  งานแต่งงาน เป็นต้น             

อภิธรรม + มาติกา

ตั้งนะโม​ 3​ จบ (ว่าพร้อมกัน)  อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ) สมาทานศีล มะยังภันเต... พระสวดนำ นะโม​ 3​ จบ พุทธังสระณังคัจฉามิ... ทุติยัมปิ พุทธังสระณังคัจฉามิ... ตติยัมปิ พุทธังสระณังคัจฉามิ... ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง (ว่าพร้อมกัน) อามะ ภันเต.  ปานาติปาตา... อทินนา... กาเม... มุสา... สุรา... อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ, สีเลนะ สุคะติง ยันติ,  สีเลนะ โภคะสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย . คำอาราธนาธรรม พรหมมา จะ โลกา       ธิปะตี สะหัมปะตี      กัตอัญชะลี        อันธิวรัง  อะยาจะถะ         สันตีธะ สัตตาป      ปะระชักขะ ชาติกา         เทเสตุ ธัมมัง       อุนะกัมปิมัง ปะชัง ฯ บทสวดอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ๑. พระสังคิณี             กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมาฯ กะตะเม ธัมมา กุสะลา ฯ ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คันธารัมมะณัง วา ระส